วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เพลง จำขึ้นใจ ครูโรงเรียนวัดบางประทุนนอก 54
ใกล้เปิดเทอมแล้ว ขอใ้ห้กำลังใจคุณครู และบุคคลากรในโรงเรียนกันหน่อย หลังจากที่บางคนก็เป็นผู้ประสบภัย (น้องน้ำมาเยี่ยมบ้าน) หลังจากดูคลิปนี้แล้วน่าจะมีกำลังใจมากขึ้นนะครับ....
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
ตำนานเครื่องดนตรีไทย 4
ต่อจากตอนที่แล้วนะเด็กๆ ใครยังไม่ได้อ่านตอนเก่า ให้ไปดูในบทความที่เก่ากว่า หน้าแรกๆ
2. ทับทิม เป็นผืนไม้ชิงชัน ภายหลังมอบให้ นายประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง บุตรชาย
( ทับทิม เป็นผืนระนาดเอกที่เหลาจากไม้ชิงชัน ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งและมีสีออกแดงเข้มจัดพิเศษจึงเรียกว่า ทับทิมซึ่งมีความหมายถึงสีของเมล็ดทับทิมที่มีสีแดงเข้มสะดุดตา
ระนาดผืนนี้เป็นผืนที่ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ ใช้สำหรับตีประชันฝีมือกับวงต่างๆ เนื่องจากเสียง ของระนาดเอกผืนนี้มีความสดใสไพเราะและ มีเสียงแกร่งกร้าวเหมาะสำหรับการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ผืนระนาดเอกทับทิมนี้เป็นมรดกตกทอดมายังอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของท่านครู หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และยังคงเก็บรักษาไว้ ที่บ้าน ....... )
3. แม่ลาย เป็นผืนไม้ไผ่มีลายในตัว
การเวกและธรณีไหว เป็นผืนระนาดของครูพุ่มและครูสุพจน์ โตสง่า
การเวก ให้เสียงกรอที่ไพเราะ แหลมคม ราวเสียงนกการเวก และ
ธรณีไหว ให้เสียงดัง เจิดจ้า มีอำนาจ
ปัจจุบันผู้ครอบครอง คือ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า หรือ ขุนอิน บุตรชายของครูสุพจน์ โตสง่า
สังคีตสมัญญา เครื่องดนตรีที่กล่าวมา ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะตัวของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นตำนานที่น่าจดจำเล่าขานไม่รู้จบสิ้น
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผู้ที่นิยมดนตรีไทยมากมาย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ตลอดจนขุนนาง ก็ได้ให้ความอุปถัมภ์นักดนตรีไทย ในวังก็จะมีวงดนตรีประจำวัง เช่น วงวังบูรพา วงวังบางขุนพรหม วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น มีการประกวดประชันกัน ทำให้วงการดนตรีไทย เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกคลอง ผู้ปกครองประเทศในสมัยนั้น มีนโยบายที่เรียกว่า “ รัฐนิยม” คือ “ห้ามการบรรเลงดนตรีไทย” เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียม นานาอารยประเทศ การจะบรรเลงดนตรีไทย จะต้องขออนุญาติจากทางราชการ ทำให้เป็นเหตุหนึ่งที่การดนตรีไทย ตกต่ำเป็นอย่างมาก ทำให้วัฒนธรรมและดนตรี จากต่างชาติได้เข้ามา และมีบาทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมากมาจนถึงทุกวันนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณนรุจ สุขจิตและ ปิยธิดา เค้ามูลคดีผู้ค้นคว้าและเรียบเรียงในรายการคุยกับดนตรี สถานีวิทยุจุฬา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554
รายการทีวีมาถ่ายหุ่นจ้า
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554 รายการซุปเปอร์จิ๋วมาถ่ายทำ คณะบางประทุน หุ่นละครมือ
รายการนี้ออกอากาศทางช่อง 9 เวลาประมาณ 7.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์
งานนี้ก็เป็นอีกประสบกราณ์หนึ่งที่ดีมาก ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้การทำงานในวงการทีวี ว่าที่เราเห็นสวยๆงามๆมันยากลำบากแค่ไหน ขอบคุณทางรายการที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาและวัฒนธรรมของไทย 
ลืมบอกไป ออกอากาศวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทางรายการได้มอบขนมและเงินรางวัลให้ทางโรงเรียนวัดบางประทุนนอกด้วย
ในฐานะครูประจำชมรมดนตรีโรงเรียนวัดบางประทุนนอก รู้สึกภูมิใจและดีใจทีคณะบางประทุน หุ่นละครมือทำชื่อเสียงให้คงอยู่เพราะหุ่นที่ประกวดรุ่นเดียวกัน เลิกไปหมดแล้วเหลือเราอยู่โรงเรียนเดียวที่ยังเล่นได้.....ผมถามทางรายการว่าเจอเราได้อย่างไร เค้าบอกว่าเจอทาง
You Tube (ที่ผมเอาไปลงเอง..อิอิ)
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การประกวดระนาดเอก
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้จัดการประกวดระนาดเอก ระดับประถมศึกษา ในเพลงแขกบรเทศ 2 ชั้น มีโรงเรียนในสังกัด กทม. มาประกวดหลายโรงด้วยกัน รางวัลชนะเลิศได้แก่ โรงเรียนเพชรเกษม เขต บางแค
รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนวัดไทร เขต บางคอแหลม
รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางประทุนนอก เขต จอมทอง
ชมเชย โรงเรียนวัดบางเชือกหนัง (จำเขตไม่ได้ ขออภัย)
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันแม่ ที่ร.ร.วัดบางประทุนนอก
การแสดงรำถวายพระพร จากชมรมนาฏศิลป
การแสดงเดี่ยวระนาด จากชมรมดนตรี แต่วันนี้นักดนตรีไม่มาโรงเรียน หนึ่งคน คุณครูเลยต้องมาแจม............ เด็กๆงงมั๊ยครับ....ไหนบอกว่าเดี่ยวระนาดแต่ทำไมมากันตั้งหลายคน ....เฉลย....การเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยอย่างในภาพเป็นการเดี่ยวระนาดเอก ซึ่งเป็นเครื่องดำเนินทำนองเพียงรางเดียว ที่เหลือเป็นเครื่องประกอบจังหวะ อยากรู้เพิ่มเติมถามได้ในห้องเรียน วันนี้แค่นี้ก่อนนะ จะโทรศัพท์ไปบอกรักคุณแม่ จุ๊บ..จุ๊บ
วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นักเรียนจากคุนหมิง
วันนี้ได้รับเชิญจาก โรงเรียนวัดโพธ์ทอง มาเป็นวิทยากรสอนดนตรีไทยให้นักเรียนแลกเปลี่ยน
วัฒนธรรมจากเมืองคุนหมิง ประเทศจีน
ฐานดนตรีไทย งานนี้เด็กๆได้เรียนอังกะลุง เพลงยะวา สนุกมากเพราะงานนี้ใช้ทั้งภาษาไทย จีน อังกฤษ (มั่วไปหมด)
แต่สุดท้ายก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี สามารถเล่นเป็นเพลงได้ เพราะดนตรีเป็นภาษาสากล
ถ่ายภาพที่ระลึกกับครูจีน นิดหนึ่ง..อิอิ
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ผ่านพ้นไปแล้ว กับการประเมิน รอบ3
หลังจากจบการประเมินก็ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ผู้ประเมินไม่ได้บอกว่าผ่านหรือไม่ผ่าน แต่ให้ประเมินตัวเองว่าเราควรผ่านหรือเปล่า ส่วนตัวผมคิดว่าผ่านแน่นอน แต่เราต้องมาลุ้นกันอีกทีว่าผ่านดีในระดับไหน
ขอขอบคุณ ชาวบางประทุน ทุกท่านที่ช่วยกันทำงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อีกครั้งที่ความสามัคคีทำให้ประสบผลสำเร็จ
ปล. ยังไม่รู้จักชื่อคณะกรรมการสักกะท่าน แต่ขอขอบคุณที่ท่านให้ข้อคิดดีๆ และความเป็นกัลยาณมิตร ขอบคุณครับ
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เครื่องดนตรีในตำนาน 3
![]() |
ตัวอย่าง ฆ้องวงใหญ่ |
เขียวหวาน เป็นชื่อฆ้องวงใหญ่ของท่านจางวางทั่วพาทยโกศล เป็นฆ้องเนื้อดีเลิศ เสียงเป็นเอก ครูสอนวงฆ้องประชันฆ้องวงใหญ่แพ้ครูช่อ ศิษย์จางวางทั่ว แต่ท่านพระยาประสานดุริยศักดิ์เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง กล่าวว่า นายสอนไม่แพ้ฝีมือ แต่แพ้ฆ้อง
จำปา ทับทิมและแม่ลาย คือผืนระนาด 3 ผืนของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ สอนศิลปบรรเลง
1. จำปา เป็นผืนไม้ไผ่แก่ ภายหลังมอบให้ครูประสิทธิ์ ถาวรศิษย์รัก
( จำปา เป็นระนาดที่เหลาจากไม้ไผ่บง (ไผ่ตง) แต่เดิมมีสีออกไปทางเหลืองเข้มคล้ายสีของดอกจำปา จึงมีชื่อเรียกว่าจำปา ผืนระนาดจำปามีคุณลักษณะพิเศษที่สำคัญคือ มีเสียงอ่อนหวานนุ่มนวลไพเราะเป็นพิเศษ อาจารย์ขวัญชัย ศิลปบรรเลง (เสียชีวิตไปนานแล้ว) ซึ่งเป็นลูกชายคนที่สองของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ เป็นผู้ที่ได้รับมอบผืนระนาดเอกจำปาไว้เป็นมรดก แต่ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตได้มอบผืนระนาดเอกจำปานี้ให้แก่ อาจารย์ประสิทธ์ ถาวร ซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ ซึ่งอาจารย์ประสิทธิ์ ถาวรได้เก็บรักษาระนาดเอกผืนนี้ไว้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน )
วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ดนตรีกับชุมชน
ชมรมดนตรีโรงเรียนวัดบางประทุนนอก นอกจากจะทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนแล้ว ยังรับใช้ชุมชนอีกด้วย วันนี้มีภาพงานบวชของคนในชุมชนมาฝากกันครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)