หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

บัตรประจำตัวสิลปิน


วันนี้เอาบัตรประจำตัวนักดนตรีมาให้ชมกัน ในภาพเป็นบัตรของ ครูเตือน พาทยกุล สังเกตภาษาที่ใช่เขียน ในตอนนั้นเป็นช่วงสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นบอกภาษาไทยอ่าน-เขียนยาก จนเกือบบังคับให้คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่น เหมือนประเทศที่ถูกยกผลขึ้นบกไปก่อนหน้านี้  เอาล่ะ....มาทำความรู้จักประวัติครูเตือน พาทยกุล กันนะเด็กๆ.....
                 
ครูเตือน พาทยกุล เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ เป็นบุตรของนายพร้อมกับนาง ตุ่น ชาวจังหวัดเพชรบุรี บิดาของท่านเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ เมื่ออายุได้ประมาณ ๗ ปี ครูเตือนได้เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดโพธาราม กระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ตามเกณฑ์บังคับในสมัยนั้น พร้อมกันนั้น ก็ได้เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่และระนาด จากบิดาและปู่ คือนาย แดง พาทยกุล และนาย ต้ม พาทยกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของพระดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
เล่ากันว่า ราวปีพุทธศักราช พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๒ นายแดงและนายต้มได้บรรเลงปี่พาทย์ ถวายทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ซึ่งเสด็จไปทรงควบคุมการสร้างพระราชวังบ้านปืน จนเป็นที่ต้องพระทัยเป็นที่ยิ่ง ถึงกับตรัสชมว่าบรรเลงได้ไพเราะ อีกทั้งเครื่องปี่พาทย์ก็งดงาม และทูลกระหม่อมบริพัตรฯ นี้เอง ที่ได้ประทานนามสกุล พาทยกุลแก่นายแดงและนายต้มในกาลต่อมา