หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ตำนานเครื่องดนตรีไทย 4

ต่อจากตอนที่แล้วนะเด็กๆ ใครยังไม่ได้อ่านตอนเก่า ให้ไปดูในบทความที่เก่ากว่า หน้าแรกๆ

2. ทับทิม เป็นผืนไม้ชิงชัน ภายหลังมอบให้ นายประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง บุตรชาย

( ทับทิม  เป็นผืนระนาดเอกที่เหลาจากไม้ชิงชัน ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งและมีสีออกแดงเข้มจัดพิเศษจึงเรียกว่า  ทับทิมซึ่งมีความหมายถึงสีของเมล็ดทับทิมที่มีสีแดงเข้มสะดุดตา
 ระนาดผืนนี้เป็นผืนที่ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ ใช้สำหรับตีประชันฝีมือกับวงต่างๆ  เนื่องจากเสียง ของระนาดเอกผืนนี้มีความสดใสไพเราะและ มีเสียงแกร่งกร้าวเหมาะสำหรับการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง  ผืนระนาดเอกทับทิมนี้เป็นมรดกตกทอดมายังอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของท่านครู หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)  และยังคงเก็บรักษาไว้ ที่บ้าน ....... )

3. แม่ลาย เป็นผืนไม้ไผ่มีลายในตัว

 ( ผืนระนาดแม่ลาย เป็นผืนที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่มีลายแปลกตา จึงเรียกว่าแม่ลาย  เป็นผืนระนาดที่มีเสียงไพเราะมากอีกผืนหนึ่ง และเป็นสมบัติส่วนตัวของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯที่ได้มอบเป็นมรดกแก่ลูกชายคนที่สามคือ นาวาเอกพิเศษสมชาย ศิลปบรรเลง ร.น.  (ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ..........) นาวาเอกสมชาย ศิลปบรรเลง ได้เก็บรักษาผืนระนาดเอกแม่ลายไว้บน "เรือนเครื่อง" ซึ่งเป็นที่เก็บของเครื่องดนตรีไทยมากมายหลายชนิดและ ยังนำระนาดผืนนี้ออกมาบรรเลงบ้างในโอกาสที่เห็นว่าสมควร )

การเวกและธรณีไหว เป็นผืนระนาดของครูพุ่มและครูสุพจน์ โตสง่า

การเวก  ให้เสียงกรอที่ไพเราะ แหลมคม ราวเสียงนกการเวก และ

ธรณีไหว ให้เสียงดัง เจิดจ้า มีอำนาจ

ปัจจุบันผู้ครอบครอง คือ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า หรือ ขุนอิน บุตรชายของครูสุพจน์ โตสง่า

สังคีตสมัญญา เครื่องดนตรีที่กล่าวมา ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะตัวของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นตำนานที่น่าจดจำเล่าขานไม่รู้จบสิ้น

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีผู้ที่นิยมดนตรีไทยมากมาย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ตลอดจนขุนนาง ก็ได้ให้ความอุปถัมภ์นักดนตรีไทย ในวังก็จะมีวงดนตรีประจำวัง เช่น วงวังบูรพา วงวังบางขุนพรหม วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น มีการประกวดประชันกัน ทำให้วงการดนตรีไทย เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด 
แต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกคลอง ผู้ปกครองประเทศในสมัยนั้น มีนโยบายที่เรียกว่า  “ รัฐนิยมคือ  “ห้ามการบรรเลงดนตรีไทยเพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียม นานาอารยประเทศ การจะบรรเลงดนตรีไทย จะต้องขออนุญาติจากทางราชการ ทำให้เป็นเหตุหนึ่งที่การดนตรีไทย ตกต่ำเป็นอย่างมาก ทำให้วัฒนธรรมและดนตรี จากต่างชาติได้เข้ามา และมีบาทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมากมาจนถึงทุกวันนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณนรุจ สุขจิตและ ปิยธิดา เค้ามูลคดีผู้ค้นคว้าและเรียบเรียงในรายการคุยกับดนตรี สถานีวิทยุจุฬา
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี