หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อ.ขุนอิน โตสง่า มาถ่ายทำรายการที่โรงเรียนวัดบางประทุนนอก

กับวงดนตรีไทยของโรงเรียนวัดบางประทุนนอก  อ.ขุนอิน ฝากชมเด็กๆด้วย ว่าเล่นเก่ง และขอให้ขยันฝึกซ้อมต่อไป

หลังจากถ่ายรายการเสร็จ ก็แจกลายเซ็น ถ่ายรูป กันตามอัธยาศัย
กราบขอบพระคุณ อ.ขุนอิน โตสง่า เป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติมาถ่ายรายการ
ที่โรงเรียนของเรา กราบขอบพระคุณครับ

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Title งานเกษียณ 2555

เป็น Title ขอมอบให้กับ ผอ.รัตนา อรุณแสงธรรม และคุณครูนิ่มนวล วุฒิวิมล เนื่องในงานเกษียณอายุราชการในปีนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นเรามักเรียกกันว่า ความผูกพันธ์...แต่ที่แน่ๆ...เวลาเดินเร็วจริงๆ      
เราๆท่านๆทั้งหลายจะทำอะไรก็รีบทำให้สำเร็จนะ...

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หนึ่งแสนครูดี 2555



ขอแสดงความยินดี กับพี่ๆที่ได้รับรางวัล หนึ่งแสนครูดี   ในปีการศึกษา 2555 นี้โรงเรียนวัดบางประทุนนอกได้รับรางวัลทั้งหมด  4 ท่าน และเมื่อรวมกับปีการศึกษาที่ผ่านมา ตอนนี้โรงเรียนเรามีครูที่ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดีทั้งหมด  8 ท่านแล้ว 

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครูเตือนยังได้ปรับขนาดเครื่องดนตรีไทยย่อส่วนลงไปอีกจนมีขนาดเล็กจิ๋ว นับเป็นคนไทยคนแรกที่ประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยขนาดเล็กและขนาดจิ๋วได้อย่างครบวงอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งเครื่องดนตรีย่อส่วนที่ครูเตือนประดิษฐ์สามารถใช้เป็นสื่อการสอนวิชาทางการดนตรีไทยแก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการและประชาชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ครูเตือน พาทยกุล ได้รับเกียรติยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) และในอีก ๓ ปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๕๓๘ ครูเตือนได้ก่อตั้ง "โรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์" ขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้รับความรู้และมีความสามารถทางศิลปะในการอนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของชาติให้คงอยู่สืบไป
ทางด้านชีวิตครอบครัวนั้น ครูเตือน สมรสกับนางกิมไล้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ มีบุตรชายหญิงรวมกัน ๔ คน ต่อมานางกิมไล้ถึงแก่กรรมลง จึงสมรสใหม่กับนางบุญเรือง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ มีบุตรชายหญิงรวม ๔ คน ที่มีชื่อเสียงทางดนตรี คือ นายอรุณ พาทยกุล และนายบำรุง พาทยกุล
ครูเตือน พาทยกุล ถึงแก่กรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เนื่องด้วยปอด เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๔๐ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ ๙๘ปี

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครูเตือน พาทยกุล เป็นบุคคลผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นศิลปินที่มีความสามารถด้านดนตรีไทยเป็นเลิศโดยเฉพาะในทางปี่พาทย์นั้น นับได้ว่าเป็นผู้มีความสามารถสูงสุดคนหนึ่ง ครูเตือน พาทยกุล มีความเชี่ยวชาญในการบรรเลงดนตรีไทยได้รอบวง สามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรีได้หลายชนิด ทั้งระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก และซอสามสาย จนปรากฏลือเลื่องไปหลายวงการ โดยท่านถนัดทางระนาดเอกมากที่สุด ครูเตือนได้รับมอบให้ทำพิธีไหว้ครูจากปู่และเจ้ากรมจันทร์ ซึ่งเป็นครูปี่พาทย์วงบ้านหม้อ นอกจากนี้ ท่านยังได้ร่วมกับนายปุ่น คงศรีวิไล ตั้งวงปี่พาทย์ขึ้นที่บ้านจังหวัดนนทบุรี นับเป็นวงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดวงหนึ่ง
ครูเตือนเป็นครูสอนวงปี่พาทย์บางประทุนของนายชุน

ส่วนสิ่งที่ถือเป็นความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของครูเตือนก็คือ การประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยขนาดเล็กได้เป็นคนแรก โดยย่อส่วนจากขนาดมาตรฐานให้มีขนาดเล็กแต่ยังคงเหมือนจริงทุกประการ อีกทั้งสามารถบรรเลงได้เหมือนเครื่องดนตรีขนาดมาตรฐาน
อาจารย์บำรุง พาทยกุล หนึ่งในทายาทของครูเตือน พาทยกุล เล่าถึงการประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยย่อส่วนของครูเตือนว่า “....เหตุการณ์ที่ทำให้คุณพ่อเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีผู้ชายคนหนึ่งมาที่บ้านบอกว่า เสด็จพระองค์ชายใหญ่


                                     พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

คือพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ให้มาตามคุณพ่อไปพบท่าน เพื่อไปดูเครื่องดนตรีเก่าๆของท่านหน่อย พระองค์ท่านอยากจะซ่อม เพราะทรงสะสมเครื่องดนตรีเก่าๆ ไว้เยอะหลังจากนั้นคุณพ่อก็จะเข้าไปทำงานให้พระองค์ท่านเป็นประจำมีอยู่วันหนึ่งพระองค์ท่านทรงดำริว่าเครื่องดนตรีใหญ่ๆ เอาไปเมืองนอกลำบากเราจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรดี คุณพ่อก็นึกได้ว่า เมื่อครั้งที่อยู่เพชรบุรีคุณพ่อเคยจำลองตะโพนขนาดใหญ่ให้เหลือเล็กๆ แล้วเอาขึ้นไปบนหิ้งบูชาเพราะตามความเชื่อของนักดนตรีไทย ตะโพนเป็นสิ่งสมมุติแทนองค์พระปรคนธรรพเป็นเทพแห่งดนตรีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งองค์หนึ่ง พ่อจึงเรียนท่านว่าทำได้พระองค์ชายใหญ่ก็ทรงออกทุนทรัพย์ให้...
หลังจากนั้นมาครูเตือนก็มาคิดและค่อยๆ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีย่อส่วนขึ้นมาทีละชิ้นจนครบทั้งวง โดยใช้เวลาทั้งหมดเกือบ ๒ ปี ถัดมาพระองค์ชายใหญ่ก็ทรงหารายการทีวีให้ออกแสดง ในวันรุ่งขึ้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวชมเชยฝีมือการประดิษฐ์เครื่องดนตรีย่อส่วนของครูเตือนผ่านทางหนังสือพิมพ์สยามรัฐในยุคนั้น ส่งผลให้ชื่อเสียงของครูเตือน พาทยกุล เป็นที่รู้จักในวงกว้างนับแต่นั้นมา
ครูเตือนเคยนำเครื่องดนตรีไทยย่อส่วนออกบรรเลงถวายหน้าพระที่นั่งประทับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์จนทำให้ครูเตือนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุณครู เตือน พาทยกุล

      เมื่อครูเตือนอายุได้ ๑๐ ปี  บิดาได้พามาฝากตัวเป็นศิษย์ของ ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล       ที่บ้านหลังวัดกัลยาณมิตร   ฝั่งธนบุรี    ครูเตือนได้เล่าเรียนดนตรีโดยเริ่มต้นจากเพลงทะแย        ซึ่งเป็นพื้นฐาน จนกระทั่งแตกฉานเชี่ยวชาญถึง   เพลงเดี่ยวสําคัญและ    หน้าพาทย์ชั้นสูงในเวลาต่อมา
                         ครูเตือนเคยเล่าให้ฟังถึงชีวิตในช่วงนั้นว่า “ …สมัยก่อนจะตื่นตี ๕ เพื่อบรรเลงเพลงจนกว่าพระจะเข้าวัด ตอนเย็น ก็จะมาเล่นจนถึงหนึ่งทุ่ม ที่สําคัญคือ ห้ามยกของหนัก ห้ามพายเรือ ห้ามยกคันนา เพราะจะทำให้มือเสีย…”
            ในกาลต่อมา           ครูเตือนได้มีโอกาสเรียนดนตรีและต่อเพลงเพิ่มเติมกับครูอีกหลายท่าน เช่น พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)     พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ครู     ฉัตร-ครูช่อ สุนทรวาทิน ครูแถม สุวรรณเสวก         และหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) เป็นต้น

ภาพคุณครู เตือน พาทยกุล สมัยหนุ่มๆ (หน้าตาดีมากๆ)   ไว้คราวหน้า เอารูปตอนชรามาให้ดูนะ

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

บัตรประจำตัวสิลปิน


วันนี้เอาบัตรประจำตัวนักดนตรีมาให้ชมกัน ในภาพเป็นบัตรของ ครูเตือน พาทยกุล สังเกตภาษาที่ใช่เขียน ในตอนนั้นเป็นช่วงสงครามโลก ทหารญี่ปุ่นบอกภาษาไทยอ่าน-เขียนยาก จนเกือบบังคับให้คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่น เหมือนประเทศที่ถูกยกผลขึ้นบกไปก่อนหน้านี้  เอาล่ะ....มาทำความรู้จักประวัติครูเตือน พาทยกุล กันนะเด็กๆ.....
                 
ครูเตือน พาทยกุล เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ เป็นบุตรของนายพร้อมกับนาง ตุ่น ชาวจังหวัดเพชรบุรี บิดาของท่านเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ เมื่ออายุได้ประมาณ ๗ ปี ครูเตือนได้เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดโพธาราม กระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ตามเกณฑ์บังคับในสมัยนั้น พร้อมกันนั้น ก็ได้เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่และระนาด จากบิดาและปู่ คือนาย แดง พาทยกุล และนาย ต้ม พาทยกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของพระดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
เล่ากันว่า ราวปีพุทธศักราช พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๕๒ นายแดงและนายต้มได้บรรเลงปี่พาทย์ ถวายทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ซึ่งเสด็จไปทรงควบคุมการสร้างพระราชวังบ้านปืน จนเป็นที่ต้องพระทัยเป็นที่ยิ่ง ถึงกับตรัสชมว่าบรรเลงได้ไพเราะ อีกทั้งเครื่องปี่พาทย์ก็งดงาม และทูลกระหม่อมบริพัตรฯ นี้เอง ที่ได้ประทานนามสกุล พาทยกุลแก่นายแดงและนายต้มในกาลต่อมา

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เล่านิทาน ประกอบท่าทาง


วันนี้พาเด็กๆไปเล่านิทาน ประกอบท่าทาง ที่ ร.ร.มัธยมวัดดาวคนอง


วงดนตรีไทยของมัธยมวัดดาวคนอง

 
นี้เป็นครั้งแรกของโรงเรียนเรา คราวหน้าต้องดีกว่านี้แน่นอน สัญญา..จ้า


อันนี้โรงเรียนอื่นที่มาแสดง ชุดพร้อม


โรงเรียนวัดนางนอง เล่นเรื่อง เวชสันดรชาดก


วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ป3เป่าขลุ่ย

เด็กป.3 โรงเรียนวัดบางประทุนนอก เป่าขลุ่ย เพลง เต้ยโขง จริงๆตอนนี้เด็กโรงเรียนเราเป่าขลุ่ยได้ทั้งโรงเรียนแล้ว ยกเว้น ป.1- ป.2       ความไพเราะก็แตกต่างกันออกไป  ถ้าเป็นเด็กโต  เสียงก็จะมีความนุ่มนวลกว่าเด็กเล็กๆ
ถ้าอยากรู้ว่า นักเรียนเป่าออกมาแล้วเป็นเช่นไร ให้คลิ๊กคำว่า  ป3เป่าขลุ่ย  ที่อยู่ด้านบน

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

งานวัด ประจำปี 2555

 งานประจำปี วัดบางประทุนนอก ทางโรงเรียนจัดการแสดง 2 ชุด
1 เพลงสยามเมืองยิ้ม
2 เพลงเหตุผลที่ทนเจ็บ
 โฉมหน้าเด็กๆจากชมรมนาฏศิลป
 ส่วนนี้คือนักร้อง เพลงสยามเมืองยิ้ม จากชมรมดนตรี
 ขอบคุณชุดการแสดงสวยๆ  จากการสนับสนุนจาก ผอ.รัีตนา อรุณแสงธรรม
 ดาวรุ่ง ลูกทุ่งบางประทุน คนล่าสุด
ขอบคุณครู สุวรรณี ด้วยสำหรับแดนเซอร์

ท่านรองฯ นฤมล ขึ้นมารับของที่ระลึก

งานวันเด็ก 2555

 ผอ.รัตนา อรุณแสงธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน วันเด็ก & กีฬาสี ประจำปี 2555
ท่านผู้นี้เป็นศิษย์เก่า วัดบางประทุนนอก วันนี้มาแจกขนมให้เด็กๆด้วย ท่านมีตำแหน่งเป็น ผศ.(กราบขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้)
 ครูทวีศักดิ์ หัวเรือใหญ่ในการจัดงานวันนี้
 ดนตรี กับ ชีวิต ทุกกิจกรรมจะต้องมีดนตรีประกอบ ในภาพกำลังบรรเลงพิธีการ
 สีแดง เริด...ค่ะ ได้รางวัลกองเชียร์ค่ะ
 อันนี้สีฟ้า....ค่ะ  สวยป่าว
 สีเขียว สงสัยขาดแคลน ลีดเดอร์
 สีม่วง กำลังมันส์.....
 ครูประจำสี ต่างๆ อยากรู้ว่าสีอะไร ให้ดูที่ ปกเสื้อนะ
เด็กๆลุ้นรอรับของรางวัล